เหตุการณ์แผ่นดินไหวในกรุงเทพฯ ที่ผ่านมายังคงสร้างความตกใจที่คิดว่าไม่น่าจะเกิดขึ้นกับเมืองของเรา
แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ แต่เหตุการณ์นี้ก็เพียงพอที่จะสะท้อนให้เห็นว่า “เราควรให้ความสำคัญกับการสื่อสารในยามวิกฤต”
ไม่ว่าจะเป็นการแจ้งสถานการณ์ให้คนหมู่มากถึงข้อมูลและข้อควรปฎิบัติในสถานการณ์ฉุกเฉินแบบนี้ โดยหนึ่งในเครื่องมือการกระจายข้อมูลในวงกว้างอย่างรวดเร็ว และทีมช่วยเหลือทุกภาคส่วนยังคงพึ่งพาอยู่เสมอ คือ “วิทยุสื่อสาร” เพราะมันเป็นอุปกรณ์ที่กระจายเสียงให้คนหมู่มากโดยไม่จำกัดผู้ใช้งาน
และหลังเกิดเหตุการณ์วิทยุสื่อสารยังเป็นอุปกรณ์ที่ยังคงมีบทบาทสำคัญในภารกิจช่วยเหลือโดยที่
- ใช้งานได้ทันทีแม้โครงสร้างพื้นฐานของการสื่อสารทั่วไปล่ม (วิทยุสื่อสารบนระบบธรรมดา)
- ส่งข้อความเสียงถึงกันโดยไม่ต้องรอเครือข่ายเชื่อมต่อ
- ใช้ประสานงานระหว่างทีมกู้ภัย หน่วยงานภาคสนาม หรือเจ้าหน้าที่ในพื้นที่เสี่ยงภัย
- ฟังสัญญาณขอความช่วยเหลือ หรือประกาศแจ้งเตือนจากทีมช่วยเหลือในพื้นที่
- รองรับการใช้งานอย่างต่อเนื่องในภารกิจที่ต้องการความแม่นยำและรวดเร็ว
- All call , ที่สามารถส่งข้อความเสียงหาทุกคนไม่เว้นแต่ผู้ใช้งานอยู่คนละกลุ่ม
- Priority Level , เรียงลำดับความสำคัญของผู้ใช้งานในการสั่งการ
- GPS Location , ตรวจสอบตำแหน่งของผู้ใช้งานได้ทันทีแบบเรียบไทม์
- ไม่จำกัดระยะทางการติดต่อ
- ไม่มีข้อความแทรกจากบุคคลภายนอก
- ฯลฯ
เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นคือโอกาสในการทบทวนว่าเรามีความพร้อมในสถานการณ์ฉุกเฉินแล้วหรือยัง?
ในวันที่ทุกอย่างไม่แน่นอน สิ่งที่ยังส่งต่อเสียงระหว่างกันได้อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการช่วยชีวิต
Spender Club ขอส่งกำลังใจให้ทุกคนปลอดภัย และขอขอบคุณทุกทีมงานกู้ภัยในด่านหน้า ที่ใช้ “วิทยุสื่อสาร” ทำหน้าที่ของตัวเองได้อย่างกล้าหาญในทุกสถานการณ์
#SpenderNetwork #แผ่นดินไหวกรุงเทพ #วิทยุสื่อสารในภาวะฉุกเฉิน #ทีมกู้ภัย #เสียงที่เชื่อมถึงความช่วยเหลือ #เรายังใช้วิทยุสื่อสารเพื่อช่วยชีวิต