รู้หรือไม่? วิทยุสื่อสารที่บุคคลทั่วไปใช้งานแบบไหนต้องขอใบอนุญาตใช้งานและเสียค่าธรรมเนียม!

รู้หรือไม่? วิทยุสื่อสารที่บุคคลทั่วไปใช้งานแบบไหนต้องขอใบอนุญาตใช้งานและเสียค่าธรรมเนียม!

 

ประเภทของวิทยุสื่อสารที่ต้องขอใบอนุญาต:

1. วิทยุสื่อสารประเภทใส่ซิม หรือ IP Radio

2. วิทยุสื่อสารแบบมือถือความถี่ 245 MHz (เครื่องแดง):

  •  ชนิดมือถือกำลังส่งไม่เกิน 0.5 W. ได้รับการยกเว้นใบอนุญาต
  • ชนิดมือถือกำลังส่งเกิน 0.5 W. จะต้องขอใบอนุญาต

สำหรับหน่วยงานราชการ

ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม แต่ต้องยื่นเอกสาร เช่น หนังสือขออนุญาต, เอกสารการจัดตั้งหน่วยงาน และ แบบฟอร์ม คท.8 และ คท.24

สำหรับบุคคลธรรมดา  หรือ บริษัทฯ

ต้องยื่นเอกสาร เช่น สำเนาบัตรประชาชน, แบบ คท.2 , คท.24 , คท.26 (กรณีบริษัทฯยื่นให้), หลักฐานการซื้อขายเครื่อง, รูปถ่ายเครื่อง และ ใบตัดล็อต (ใบรายงานหมายเลขเครื่องที่นำส่ง กสทช. ผู้ใช้งาน Spender Speeder Tccom สามารถ Downlaod ได้ที่ลิงค์นี้)

  • ค่าธรรมเนียม: 535 บาท/เครื่อง

 

วิทยุโมบาย หรือ แบบประจำที่ ความถี่ 245 MHz:สำหรับประชาชนทั่วไป และ นิติบุคคล

เอกสารเหมือนกรณีเครื่องมือถือแต่จะต้องเพิ่มทะเบียนบ้าน หรือ ทะเบียนรถ

  • ค่าธรรมเนียม: 535 บาท/เครื่อง + ค่าธรรมเนียมการตั้งสถานี (ตามกำลังส่ง)
  • กำลังส่ง 5 วัตต์    535.- บาท
  • กำลังส่ง 10 วัตต์    1,070.- บาท
  • กำลังส่ง 30-60 วัตต์    1,605.- บาท

3. วิทยุ 144-147 MHz (สำหรับนักวิทยุสมัครเล่น):

     ชนิดมือถือ   สำหรับวิทยุสื่อสารข่ายสมัครเล่นจะต้องยื่นเอกสาร สำเนาบัตรประชาชน, บัตรนักวิทยุสมัครเล่น, แบบ คท.2 , คท.24 , คท.26 , หลักฐานการซื้อขายเครื่อง,รูปถ่ายเครื่อง และ ใบตัดล็อต

  • ค่าธรรมเนียม: 535 บาท/เครื่อง

    วิทยุสื่อสารโมบาย หรือ แบบประจำที่   สำหรับวิทยุสื่อสารข่ายสมัครเล่นจะต้องยื่นเอกสาร สำเนาบัตรประชาชน,สำเนาทะเบียนบ้าน, บัตรนักวิทยุสมัครเล่น, แบบ คท.2, คท.24 , คท.26 , หลักฐานการซื้อขายเครื่อง,รูปถ่ายเครื่อง และ ใบตัดล็อต

  • ค่าธรรมเนียม: 535 บาท/เครื่อง + ค่าธรรมเนียมการตั้งสถานี (ตามกำลังส่ง)
  • กำลังส่ง 5 วัตต์ – บาท
  • กำลังส่ง 10 วัตต์ 1,070.- บาท
  • กำลังส่ง 30-60 วัตต์ 1,605.- บาท

4. เครื่องสังเคราะห์ความถี่ 136-174 MHz ( สำหรับตำรวจ และ หน่วยงานราชการ ):

สำหรับข้าราชการตำรวจต้องยื่นเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น สำเนาบัตรประชาชน, บัตรข้าราชการตำรวจ, หนังสือรับรองการอบรม, หนังสือรับรองจากต้นสังกัด, แบบ คท.2, คท.24 , คท.26 , หลักฐานการซื้อขายเครื่อง,รูปถ่ายเครื่องและ ใบตัดล็อต

  • ค่าธรรมเนียม: 107 บาท/เครื่อง

 

ขั้นตอนการขอใบอนุญาตวิทยุสื่อสาร

1. เมื่อกรอกข้อมูลครบถ้วนตามข้อมูลเบื้องต้นแล้ว นำส่งส่งเอกสารผ่านทางอีเมล saraban_2410@nbtc.go.th
2. กสทช. ตรวจสอบเอกสารถูกต้องครบถ้วน และส่งใบนำจ่าย กลับมายังอีเมล์ผู้ขอทำใบอนุญาต
3. ทำการสแกน QR code เพื่อชำระเงินค่าใบอนุญาต ตามจำนวนเครื่องที่ขอ
4. เจ้าหน้าที่ กสทช. ส่งใบเสร็จรับเงินกลับมายังผู้ขอทำใบอนุญาต
5. เมื่อคำขอได้รับการอนุมัติ ผู้ขอใบอนุญาตจะได้รับใบอนุญาต เป็นไฟล์ PDF
และสามารถใช้งานวิทยุสื่อสารได้ถูกต้องตามกฎระเบียบ สนง.กสทช.

 

 

ขั้นตอนการขอใบอนุญาตวิทยุสื่อสาร  คลิกเพื่อดูตัวอย่าง

 

 

 

การใช้งานวิทยุสื่อสารโดยไม่มีใบอนุญาต

การใช้งานวิทยุสื่อสารโดยไม่ได้รับอนุญาตอาจทำให้เกิดการรบกวนคลื่นความถี่ที่สำคัญและกระทบการสื่อสารของระบบอื่นๆ ซึ่งอาจนำไปสู่ผลทางกฎหมายและการดำเนินการทางการอาญา

การขอใบอนุญาตวิทยุสื่อสารอย่างถูกต้องช่วยหลีกเลี่ยงปัญหาทางกฎหมายและทำให้การใช้วิทยุเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยตามกฎระเบียบของ กสทช.

 

#การขอใบอนุญาตวิทยุสื่อสาร #การขอใบอนุญาต #วิทยุspender #SpenderClub

 

แชร์บทความนี้ได้ง่ายๆ ^^

Facebook
Twitter
Email
Print

Related Post

Feel Free to Contact

085 222 9111

info@tccom.co.th

@spenderclub